เนื่องจากสถานการ์ณการแพร่เชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ระบาดหนัก อย่างไม่มีท่าทีว่าจะลดลงเลย ทำให้มีจำนวนผู้ป่วย เพิ่มมากขึ้นมาเรื่อย ๆ และปัญหาที่ตามมา คือ ทำให้เตียงโรงพยาบาลสนามไม่เพียงพอ รองรับผู้ป่วย และผู้ป่วยที่ไม่ได้มีอาการรุนแรง จริง ๆ แล้วอาจไม่จำเป็นจะต้องได้รับการดูแลรักษาจากทางโรงพยาบาลก็ได้ วันนี้เราเลยจะมาแนะนำ Home Isolation กักตัวที่บ้าน อีกทางเลือกหนึ่ง ของผู้ติดเชื้อ โควิด-19 ที่ไม่มีอาการหรือไม่มีอาการรุนแรง ที่สามารถไปพักฟื้นต่อที่บ้านหรือสถานที่ที่รัฐจัดให้ได้
แนะนำ Home Isolation กักตัวที่บ้าน อีกทางเลือกหนึ่ง ของผู้ติดเชื้อ โควิด-19 ที่ไม่มีอาการหรือไม่มีอาการรุนแรง

1. เช็คอาการป่วยของโควิด-19 เสียก่อนว่าคุณอยู่ในระดับไหน
โดยกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้มีการแบ่งระดับของอาการป่วยเป็นโควิด-19 3 ระดับ ออกเป็น สีเขียว สีเหลือง สีแดง เพื่อการดูแลรักษาอย่างเป็นระบบนั้นเอง จะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม มีรายละเอียดดังนี้…
ผู้ป่วยสีเขียวมีอาการ
- ไม่มีอาการเลย
- มีไข้อุณหภูมิ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป
- ไม่รับรส ไม่รับกลิ่น
- ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ
- ตาแดง มีผื่น และถ่ายเหลว
ผู้ป่วยสีเหลืองมีอาการ
- มีโรคร่วม
- เวียนหัว อ่อนเพลีย ไอแล้วมีอาการเหนื่อย
- แน่นหน้าอก หายใจลำบาก
- ขับถ่ายเหลว 3 ครั้งต่อวันขึ้นไป
- อ่อนเพลีย ปอดอักเสบ
ผู้ป่วยสีแดงมีอาการ
- ระบบหายใจมีปัญหารุนแรงทำให้หายใจลำบาก หอบเหนื่อย หากเอกซเรย์จะพบปอดอักเสบรุนแรง
- เกิดภาวะปอดบวมจากการเปลี่ยนแปลงความอิ่มตัวของเลือดน้อยกว่า 96 % หรือลดลง 3 % จากค่าที่วัดได้ในตอนแรก
- แน่นหน้าอกตลอดเวลา และหายใจเจ็บหน้าอก
- ตอบสนองช้า หรือไม่รู้สึกตัว
ซึ่งทำให้เกิดแนวทางการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 แบบ Home Isolations หรือ การกักตัวที่บ้าน แต่ถึงอย่างไรก็ต้องอยู่ในการพิจารณาของแพทย์ และอยู่ในระบบการตรวจสอบ ติดตามอาการ หากอาการเปลี่ยนแปลงก็มีระบบส่งต่อไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล

2. Home Isolationหรือการการกักตัวที่บ้าน เป็นแนวทางสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่อยู่ในเกณฑ์ดังนี้
- สำหรับผู้ป่วยโควิด-19ที่กำลังรอ Admit หรือรอเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลและแพทย์พิจารณาแล้วว่าสามารถรักษาตัวที่บ้านได้
- และสำหรับผู้ป่วยโควิด-19ที่รักษาตัวในโรงพยาบาล หรือสถานที่ที่รัฐจัดให้อย่างน้อย 10 วันแล้ว และแพทย์พิจารณาว่าสามารถทำHome Isolation ต่อได้
3. โดยผู้ป่วยโควิด-19 ที่สามารถเข้าเกณฑ์ในการทำ Home Isolation ได้นั้น
- เป็นผู้ติดเชื้อที่สบายดี หรือไม่มีอาการ (asymptomatic cases)
- มีอายุน้อยกว่า 60 ปี
- มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
- ยินยอมแยกกักตัวในที่พักของตัวเอง
- อยู่คนเดียวหรือมีผู้อยู่ร่วมที่พักไม่เกิน 1 คน
- ต้องไม่มีภาวะอ้วน (ดัชนีมวลกาย>30 กก./ม.2 หรือ น้ำหนักตัว>90 กก.)
- ไม่มีโรคร่วม ดังต่อไปนี้ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง(COPD), โรคไตเรื้อรัง (CKD ระยะที่ 3,4),โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ หรือโรคอื่นๆ ตามดุลยพินิจของแพทย์
4. การปฎิบัติตัวของผู้ป่วยโควิด-19 เมื่อทำ Home Isolation
- แยกห้องพัก ของใช้ส่วนตัวกับผู้อื่น หากแยกไม่ได้ควรแยกให้ห่างจากผู้อื่นให้มากที่สุด และควรเปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเท
- ห้ามออกจากที่พัก และห้ามใครมาเยี่ยมที่บ้าน
- ห้ามเข้าใกล้หรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้อื่น โดยต้องเว้นระยะห่างอย่างน้อย 2 เมตร
- ต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา หากไม่ได้อยู่คนเดียว
- ล้างมือด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์เจลทุกครั้งที่สัมผัสกับของใช้ต่าง ๆ ห้ามทานอาหารร่วมกับผู้อื่น
- แยกซักเสื้อผ้า และเครื่องนอน ด้วยน้ำสบู่หรือผงซักฟอกใช้ห้องน้ำแยกจากผู้อื่น และแยกทิ้งขยะ โดยมัดปากถุงขยะให้แน่น
เป็นอย่างไรกันบ้างคะสำหรับการHome Isolation กักตัวที่บ้าน อีกทางเลือกหนึ่ง ของผู้ติดเชื้อ โควิด-19 ที่ไม่มีอาการหรือไม่มีอาการรุนแรง แต่ถึงอย่างไรการHome Isolation ผู้ป่วยต้องตรวจดูอาการของตัวเองให้ดีเสียก่อน และต้องอยู่ภายใต้คำพิจารณาของแพทย์เท่านั้น
หลังจากที่หายแล้ว อย่าลืมดูแลสุขภาพของตัวเองให้ดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย การพักผ่อน เพื่อเสริมสร้างสุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดีในช่วงที่กักตัวหลังจากหายป่วยด้วยนะ เพื่อฟื้นฟูร่างกาย และสภาพจิตใจของคุณให้กลับมาแข็งแรง สดใสอีกครั้ง